โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 ล่าสุด ปี 2566 เป็นอย่างไร

 
 
 

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 ล่าสุด ปี 2566 เป็นอย่างไร

ฤดูร้อน ปี 2566 ล่าสุดนี้ ยังมีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นลูกผสมจากโอมิครอนอย่าง XBB.1.16 (Arcturus) โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ผู้คนออกเดินทางไปพบปะสังสรรค์กันมากขึ้น รวมทั้งชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจึงติดตามเฝ้าระวัง

 โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 คืออะไร

เป็นเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ XBB จากลูกผสมตระกูล Omicron BA.2.10.1 และ BA.2.75 มีรายงานการค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย เมื่อเดือนมกราคม 2566 องค์การอนามัยโลกจัดเป็นเชื้อที่ต้องเฝ้าติดตาม การกลายพันธุ์เกิดขึ้นที่บริเวณ 483 ระดับภูมิตอบสนองชนิด Neutralizing Antibody ลดลง จึงเพิ่มความสามารถในการแพร่เชื้อหรือก่อโรค แต่ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยใดที่อ้างถึง XBB.1.16 จะก่อความรุนแรง

 โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 อาการล่าสุดเป็นอย่างไร 

  • อุณหภูมิในร่างกายสูง 

  • มีไข้สูง 

  • ระคายเคืองดวงตา ใบหน้า 

  • ไอ 

  • เจ็บคอ 

  • น้ำมูกไหล 

  • การรับกลิ่นของจมูกผิดปกติ 

  • สำหรับต่างประเทศมีรายงานผู้ติดเชื้อเยื่อบุตาอักเสบ

 โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 และ XBB.1.5 

  • โควิดสายพันธุ์ XBB.1.5 จะแตกต่างจาก XBB.1.16 ตรงที่ตำแหน่งการกลายพันธุ์บนโปรตีนหนาม F846P เพียงอย่างเดียว เป็นลูกผสมของโอมิครอน Bj.1 และ BM.1.1.1 การกระจายแพร่เชื้อมีความเป็นไปได้ที่จะไวน้อยกว่าเพียงเล็กน้อยและการหลบภูมิคุ้มกันก็เช่นเดียวกัน 

  • สำหรับสิ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ อาการความรุนแรงที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังหาข้อสรุปไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อระบบหายใจ มีการประกาศเปิดเผยในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการส่งข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ในไทยที่ถอดรหัสพันธุกรรมเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก (GISAID) ผ่าน Outbreak.info ร่วมกับองค์การอนามัยโลกพบว่า XBB.1.5 สายพันธุ์หลักในประเทศไทยที่ต้องเฝ้าระวัง

  

ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับอันตรายจากโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 

  • อายุ 60 ปีขึ้นไป 

  • อาศัยอยู่ในพื้นที่ความหนาของฝุ่น PM 2.5 

  • ผู้ป่วยโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดสมอง โรคอ้วน มะเร็ง เบาหวาน 

  • คุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 12 สัปดาห์ขึ้นไป 

  • ผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 

  • บุคคลที่ไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน 

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ หากตรวจพบเชื้อ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและยาต้านไวรัสทันที หากปล่อยปละละเลยอาจมีอาการรุนแรงได้

ที่มา : โรงพยาบาลเพชรเวช