โรคลมชักในเด็ก คืออะไร
โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชักซ้ำ ๆ โดยไม่ได้เกิดจากสาเหตุกระตุ้น เช่น ไข้สูง หรือ การบาดเจ็บที่ศีรษะในทันทีสำหรับในเด็กการมีอาการชักเกิดขึ้นได้หลายลักษณะและสาเหตุ อาจส่งผลต่อพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็กได้ คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจเพื่อให้สามารถรับมือ ดูแล และป้องกันไม่ให้อาการของลูกแย่ลง
โรคลมชักในเด็ก คืออะไร
โรคลมชักเป็นกลุ่มความผิดปกติของสมองที่เกิดจากการปลดปล่อยกระแสไฟฟ้าในสมองผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดอาการชักในรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นกับตำแหน่งที่เกิด เช่น ชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว ชักแบบเหม่อลอย หรือชักเฉพาะบางส่วนของร่างกาย ซึ่งในเด็กอาจแสดงอาการได้หลากหลายกว่าผู้ใหญ่ เพราะสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่
สาเหตุของโรคลมชักในเด็ก
โรคลมชักในเด็กเป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของเซลล์สมอง ส่งผลให้เกิดการชักหรืออาการผิดปกติทางระบบประสาทซ้ำ ๆ โดยสาเหตุของโรคสามารถแบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม ดังนี้
ปัจจัยพันธุกรรม เด็กบางคนอาจได้รับยีนผิดปกติที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์สมองทำให้เกิดภาวะชัก หรืออาจมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคลมชัก
ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ความผิดปกติของสมองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในครรภ์ เช่น โครงสร้างสมองผิดปกติ สมองเจริญผิดรูป พบในกลุ่มเด็กที่มีโรคทางพันธุกรรมร่วม เช่น กลุ่มอาการ West Syndrome, Tuberous Sclerosis
การบาดเจ็บทางสมอง การบาดเจ็บ อุบัติเหตุรุนแรงที่ศีรษะภาวะสมองขาดออกซิเจน เช่น การคลอดที่มีภาวะขาดออกซิเจน หรือการจมน้ำ
การติดเชื้อในสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) สมองอักเสบ (Encephalitis) หรือการติดเชื้อจากปรสิต เช่น พยาธิในสมอง
ปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ เช่น ไข้สูง ภาวะขาดสารอาหาร วิตามิน หรือสารพิษบางชนิด บางครั้งไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ (โรคลมชักไม่ทราบสาเหตุ) ซึ่งเกิดได้บ่อยเช่นกัน
อาการของโรคลมชักในเด็กที่พบได้บ่อย
อาการชักเกร็งกระตุก (Generalized Tonic-Clonic Seizure)
เด็กมักหมดสติทันที ร่างกายเกร็งแข็ง แล้วตามด้วยการกระตุกของแขน ขา เป็นจังหวะ อาจมีอาการกัดลิ้น กลั้นหายใจ ตัวเขียว ปัสสาวะหรืออุจจาระราด หลังชักอาจมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงซึม หรือสับสนอาการเหม่อลอย หรือชักแบบขาดสติสั้น ๆ (Absence Seizure)
เด็กจะหยุดนิ่งไปชั่วขณะ ไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียก เรียกไม่รู้ตัว บางครั้งเหมือนเหม่อลอยสั้น ๆ ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีแล้วกลับมาปกติ อาจเกิดวันละหลายครั้งจนส่งผลต่อการเรียนรู้อาการชักเฉพาะที่ (Focal Seizure)
มีอาการผิดปกติเฉพาะที่ เช่น กระตุกแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือมีอาการชา อาจมีการกระตุกแค่บางส่วน เช่น มือ แขน หรือขา เด็กอาจรู้สึกหวาดกลัว ได้ยินเสียงหรือเห็นภาพผิดปกติ บางครั้งอาจมีพฤติกรรมแปลก ๆ ชั่วขณะ เช่น ขยับปาก รูดเสื้อ เดินวน โดยไม่รู้ตัวอาการชักแบบกล้ามเนื้อกระตุก (Myoclonic seizure)
กล้ามเนื้อกระตุกแบบเฉียบพลัน และรวดเร็ว มักเกิดที่แขนหรือขา คล้ายการสะดุ้ง แต่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ และไม่สามารถควบคุมได้อาการชักตอนหลับ (Nocturnal seizure)
เด็กอาจมีอาการชักตอนกลางคืน เช่น กระตุกตัว หายใจแรง ตัวแข็ง บางครั้งจะเกิดอาการชักในช่วงหลับ ทำให้สังเกตได้ยาก และอาจตื่นมาด้วยอาการสับสน หรือจำเหตุการณ์ไม่ได้
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท