โรคลมชักในเด็ก วิธีการรักษาโรคลมชัก
โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชักซ้ำ ๆ โดยไม่ได้เกิดจากสาเหตุกระตุ้น เช่น ไข้สูง หรือ การบาดเจ็บที่ศีรษะในทันทีสำหรับในเด็กการมีอาการชักเกิดขึ้นได้หลายลักษณะและสาเหตุ อาจส่งผลต่อพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็กได้ คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจเพื่อให้สามารถรับมือ ดูแล และป้องกันไม่ให้อาการของลูกแย่ลง
วิธีการรักษาโรคลมชัก
การใช้ยากันชัก (Antiepileptic Drugs: AEDs)
เป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับโรคลมชักส่วนใหญ่ ใช้ในการควบคุมอาการ แพทย์จะเลือกชนิดยาที่เหมาะสมกับประเภทของอาการชัก และน้ำหนักตัวของเด็ก และควรรับประทานยาต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ เด็กบางรายอาจต้องใช้ยานานหลายปี บางรายอาจหยุดยาได้เมื่อควบคุมอาการชักได้ดี และไม่มีอาการมานาน โดยต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์การผ่าตัดรักษา (Epilepsy Surgery)
พิจารณาในกรณีที่อาการชักไม่ตอบสนองต่อยา (drug-resistant epilepsy) ตรวจพบต้นเหตุของลมชักเฉพาะจุดในสมองที่สามารถผ่าตัดได้อย่างปลอดภัยแพทย์อาจพิจารณาวิธีนี้ ตัวอย่างการผ่าตัด เช่น การตัดรอยโรคเฉพาะจุด การตัดแยกวงจรประสาทบางส่วนการกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส (Vagus Nerve Stimulation)
ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ และยาไม่สามารถควบคุมอาการได้ดี เป็นการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าขนาดเล็กใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอกต่อเข้ากับเส้นประสาทเวกัสที่คอ เพื่อช่วยลดความถี่ของอาการชักการรักษาด้วยอาหารบำบัด (Ketogenic Diet)
เป็นการควบคุมอาหารให้มีไขมันสูง คาร์โบไฮเดรตต่ำ และโปรตีนพอเหมาะ เพื่อช่วยลดโอกาสการชักในเด็กบางราย แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ และนักกำหนดอาหารการดูแลด้านพฤติกรรม และการเรียนรู้
เด็กที่เป็นลมชักอาจมีปัญหาด้านพัฒนาการ การเรียน หรือพฤติกรรมร่วมด้วย ควรประเมินและจัดกิจกรรมฟื้นฟูตามความจำเป็น เช่น กายภาพบำบัด พูดบำบัด หรือการดูแลด้านอารมณ์
วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเด็กมีอาการชัก
ตั้งสติ อย่าตกใจจนเกินไป ประเมินสถานการณ์ และจัดการตามขั้นตอน
ป้องกันการบาดเจ็บ จัดเด็กให้นอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก อย่าใช้ของแข็งง้างปาก หาของนุ่ม ๆ รองศีรษะ และจัดบริเวณรอบตัวให้โล่ง ป้องกันไม่ให้ศีรษะกระแทกพื้น เช่น ใช้หมอนหรือผ้านุ่ม ๆ รองศีรษะ
คลายเสื้อผ้าบริเวณคอ เช่น ปลดกระดุม ปลดเนกไท เพื่อให้หายใจสะดวก
ห้ามให้กินน้ำหรืออาหาร ขณะที่มีอาการชัก เพราะอาจสำลักได้
สังเกตลักษณะอาการชัก เกร็งหรือกระตุกข้างเดียวหรือทั้งตัว มีเสียงร้องก่อนหมดสติหรือไม่ มีอาการผิดปกติทางสายตา การหายใจ หรือสีผิวเปลี่ยนหรือไม่
จับเวลา จดบันทึกระยะเวลาที่เด็กชัก หากเกิน 5 นาที ควรรีบเรียกรถพยาบาลหรือไปโรงพยาบาลทันที
พักผ่อนหลังชัก เด็กอาจมีอาการง่วง ซึม หรือสับสน ควรให้เขาพักฟื้นและเฝ้าดูอาการอย่างต่อเนื่อง
วิธีการป้องกันและดูแลเด็กที่เป็นโรคลมชัก
แม้โรคลมชักจะไม่สามารถป้องกันได้ทุกกรณี แต่การดูแลอย่างถูกต้องสามารถช่วยลดความถี่ของอาการชัก ป้องกันอันตราย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางในการดูแลและป้องกัน ดังนี้
รับประทานยาสม่ำเสมอ
ให้เด็กทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามหยุดยาเองหรือเปลี่ยนยากะทันหัน เพราะอาจทำให้เกิดอาการชักซ้ำ ไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลเลือด ระดับยา และอาการข้างเคียงหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอาการชัก พักผ่อนให้เพียงพอ
เด็กควรนอนหลับอย่างน้อย 8–10 ชั่วโมงต่อคืนหลีกเลี่ยง ความเครียด อดนอน หรือใช้สายตาเพ่งจอเป็นเวลานาน ระวัง แสงกะพริบ เช่น หน้าจอเกม วิดีโอ หรือไฟแฟลชจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
ใช้เบาะรองขอบโต๊ะ หรือของแข็งในบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงการบาดเจ็บจากการล้ม หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง เช่น ปีนที่สูง ว่ายน้ำคนเดียว ขี่จักรยานบนถนน ไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่ลำพังในห้องน้ำหรืออ่างอาบน้ำดูแลเรื่องอาหาร และสุขภาพทั่วไป
ให้เด็กได้รับโภชนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัย พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างพอเหมาะแจ้งครูและผู้ดูแล
หากเด็กอยู่ในวัยเรียน ควรแจ้งคุณครูหรือผู้ดูแลว่าเด็กมีภาวะโรคลมชัก เรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเด็กมีอาการชัก และควรทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการชักตรวจติดตามกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับยาและประเมินอาการตามความจำเป็นส่งเสริมพัฒนาการ
หากเด็กมีพัฒนาการล่าช้าหรือปัญหาอื่น ๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ นักกิจกรรมบำบัด หรือนักจิตวิทยาเด็ก
โรคลมชักในเด็กอาจฟังดูน่ากังวล แต่ด้วยการดูแลอย่างถูกวิธี การวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรวดเร็วมีความสำคัญอย่างมาก โรคลมชักสามารถควบคุมได้ในเด็กส่วนใหญ่ หากได้รับการวางแผนรักษาอย่างเหมาะสม และต่อเนื่อง ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการ ติดตามผลการรักษา และให้การสนับสนุนด้านจิตใจอย่างเข้าใจ จะช่วยให้เด็กเติบโตได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท